โครงสร้างของเครือข่ายของคอมพิวเตอร์
๑ เครือข่านเฉพราะที่ ( Local Area Network : LAN )
เป็นเครือข่ายที่มักพบกันในองค์กรโดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN
จะอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่น อยู่ในอาคาร หรือหน่อยงานเดียวกัน สามารถดูแลได้เองโดยไม่ต้องใช้ระบบสื่อสารข้อมูลแบบอื่น
๒ เครือข่ายเมือง ( Matropolitan Area Network : MAN
เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้น ภานในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง
เช่น ในเมืองเดียวกัน
๓ เครือข่ายบริเวณกว้าง ( Wide Area Network : WAN )
เป็นเครือข่ายใหญ่ขึ้นอีกระดับ โดยเป็นการรวมทั้งเครือข่าย LAN และ MAN มาเชื้อมต่อกันเป็น
เครือข่ายเดียว ดังนั้นเครือข่ายนี้จึงควบคุมพื้นที่กว้าง โดยมีการควบคุมไปทั่วประเทศ
- รุปแบบโครงสร้างเครือข่าย ( Network Topolohy )
การจัดระบบการทำงานของเครือข่าย มีรูปแบบโครงสร้างของเครือข่ายเป็นการจัดวางคอมพิวเตอร์ และเดินสายสัญญาณคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งโครงสร้างเครือข่ายหลักได้ 4 แบบ
คือ - เครือข่ายแบบดาว
- เครือข่ายแบบวงแหวน
- เครือข่ายแบบบัส
- เครือข่ายแบบต้นไม้
๑ เครือข่่ายแบบดาว
เป็นการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด โดยสถานีทุกสถานีในเครือข่ายจะต่อเข้ากับหน่วยสลับสายกลางแบบจุดต่อจุด การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน
ข้อดีคือการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบกับเครื่องอื่นในระบบเลย แต่ข้อเสียคือมี ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูงและถ้าคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสียระบบเครือข่ายจะหยุดชะงักทั้งหมดทันที
๒ ระบบเครือข่ายแบบวงแหวน
เป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดเช่นเดียวกับแบบดาว โดยสถานีแต่ละสถานีจะต่อกับสถานีที่อยู่ติดทั้งสองข้างของตนเอง และทุกสถานีมีเครื่องขยายสัญญาณของตัวเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของแต่ละสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน สัญญาณข้อมูลจะส่งอยู่ในวงแหวนแบบจุดต่อจุดไปในทิศทางเดียวกันจนถึงผู้รับภายในเวลาที่กำหนด โดยเครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้า และส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป อีกทั้งสามารถตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งด้วยโดยกรณีที่เครื่องรับปลายทางไม่ได้รับสัญญาณข้อมูลในเวลาที่กำหนด จะมีการแจ้งว่าเกิดความผิดพลาดในเครือข่ายได้ ข้อดีคือ ใช้สายเคเบิลน้อย และสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้ ทำให้ไม่มีผลต่อระบบเครือข่าย ข้อเสียคือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงานได้เลย และการเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน
๓ ระบบเครือข่ายแบบบัส
เป็นรูปแบบที่มีผู้นิยมใช้มากแบบหนึ่ง เพราะมีโครงสร้างไม่ยุ่งยากและไม่ต้องใช้อุปกรณ์สลับสาย เป็นการเชื่อมต่อแบบหลายจุด สถานีทุกสถานีรวมทั้งอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้ากับสายสื่อสารหลักเพียงสายเดียว เรียกว่าแบ็กโบน (backbone) การจัดส่งข้อมูลลงบนบัสจึงสามารถทำให้การส่งข้อมูลไปถึงทุกสถานีได้ผ่านสายแบ็กโบนนี้ โดยการจัดส่งวิธีนี้ต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน โดยวิธีการที่ใช้อาจเป็นการแบ่งช่วงเวลา หรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน ข้อดีที่ใช้สายน้อย และถ้ามีเครื่องเสียก็ไม่มีผลอะไรต่อระบบโดยรวม ส่วนข้อเสียก็คือตรวจหาจุดที่เป็นปัญหาได้ยาก
๔ ระบบเครือข่ายต้นไม้
มีลักษณะการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดเช่นเดียวกับแบบดาว โดยมีสายนำสัญญาณแยกออกไปเป็นแบบกิ่ง เครือข่ายแบบนี้จะเหมาะกับการประมวลผลแบบกลุ่มจะประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับต่างๆกันอยู่หลายเครื่องแล้วต่อกันเป็นชั้น ๆ ดูราวกับแผนภาพองค์กร แต่ละกลุ่มจะมีโหนดแม่ละโหนดลูกในกลุ่มนั้นที่มีการสัมพันธ์กัน การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่นๆได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม และรับส่งข้อมูลเดียวกัน ดังนั้นในแต่ละกลุ่มจะส่งข้อมูลได้ทีละสถานีโดยไม่ส่งพร้อมกัน
การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอทพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายทำให้เกิดการสื่อสารและการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะหมายความรวมถึงการสื่อสารและแบ่งปันการใช้ข้อมุลระหว่างบุคคลด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้คืองานของระบบเครือข่าย
รูปแบบการใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งได้ 3 ประเภท
1.ระบบเครือข่ายแบบศูนย์กลาง
2.ระบบเครือข่ายแบบยPeer To Peer
3.ระบบเครือข่ายแบบ Clien / Server
เป็นระบบที่มีเครื่องหลักเพียงเครื่องเดียวที่ใช้ในการประมวลผลตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางและจะมีการเชื่อมต่อไปยังเครื่องเทอร์มินอลที่อยู่รอบๆใช้การเดินสายเคเบิลเชื่อต่มอกันโดยตรง เพื่อให้เครื่องเทอร์มินอลสามารถเข้าใช้งานโดยส่งคำสั่งต่างๆมาประมวลผลหรือเครื่องกลางซึ่งมักเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมประสิทธิภาพสูง
2.ระบบเครือข่ายแบบ Peer To Peer
2.ระบบเครือข่ายแบบ Peer To Peer
แต่ละสถานีงานบนระบบเครือข่าย Peer To Peer จะมีความเท่าเทียมกันสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันและกันได้ เช่น การใช้เครื่องพิมพ์หรือแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย เครื่องอต่ละสถานีมีขีดความสามารถในการทำงานได้ด้วยตัวเอง Stand Alone
3.ระบบเครือข่ายแบบ
ระบบ Client / Server สามารถสนับสุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายสถานี ทำงานโดยมีเครื่อง Server ให้บริการเป็นศูนย์กลางอย่างน้อยหนึ่งเครื่องและมีการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆจากส่วนกลาง ซึ่งคล้ายกับระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์หกลาง แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือเครื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการในระบบ Clien Sราคาไม่แพงมากซึ่งอาจใช่เพียงเครื่องไมโครคอมพิวงเตอร์สมรรถนะสูงในการควบคุมการให้บริการทรัพยากรต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น