คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครอื่งมือหรืออุปกรณืประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียงส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
หมายถึง ส่วนีท่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ
ส่วนที่1 หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unil)
เป็นวัสดุอุปกรณืที่นำมาเชื่อมต่อ ทำหน้าที่ปอ้นสัญญาณเข้าสู่ระบบ เพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการ ได้แก่
-แป้นอักขระ (Keyboard)
-แผ่นซีดี (CD-rom)
-ไมโครโฟน (Microphone) เป็นต้น
ส่วนที่2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unil)
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกและคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
สว่นที่3 หน่วยความจำ(Memory Unit)
ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลางและเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลส่งไปยังประมวลผลกลาง
ส่วนที่4 หน่วยแสดง (Output Unit)
ทำหน้าที่แสดลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว
ส่วนที่5 อุปกรณ์ต่อพ่วง (Peripheral EQuipment)
เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม (modem) แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นต้น
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1. มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่ง ได้รวดเร็วเพียงชั่งวินาที จึงใช้ทไงนคำนวณต่างๆได้อย่างรวดเร็ม2. มีประสิทธิในการทำงานสุง ทำงานได้ตลอด 24 ชั่วดมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
3.มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรมแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4. เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อที่เก็บเอกสาร
5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน
ระบบคอมพิวเตอร์
หมายถึง กรรมวิธีที่คอวพิวเตอรืทำการใดๆกับข้อมูลให้อยูในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานใมกที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี ระบบทะเบียนราษฎร์ ระบบทะเบียนการค้า ระบบเวช ระเบียนของโรงพยาบาล ป็นต้นการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามรถเข้าถึงได้โดยการตรวจสอบจากกสรประมวลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงสนที่เกี่ยวข้อง
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือส่วนเครื่อง
2. ซอฟแวร์ (Software)
ฮาร์แวร์
หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้คือ
1.ส่วนประมามวลผล (Processor)
2.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก (Input-Output Devices)
4.อุปกรณืหน่วยเก็บข้อมูล(Storage Device)
ส่วนที่1 CPU
CPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เปรียบเสมือนสมองมีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวลผลและเปรียบเทียบข้อมูลโดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบ และแปลงให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ความสามารถของ ซีพียูนั้น พิจารณาจากความเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกา เป็นความเร็วของจำนวนรอบสัญญาณในหนึ่งวินาทีมีหน่วยเป็น เฮิรตซ์(Hertz) เช่น สัญญาณความเร็ว1ล้านรอบใน1วินาที เทียบเท่าความเร็วสัญญาณนาฬิกา 1 จิกะเฮิรตซ์(1GHz)
ส่วนที่2 หน่วยความจำ (Memory)
จำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังนี้1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
เป็นหน่วยเก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย
ชุดความจำข้อมูลที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่ง ข้อมูลจะถูกนำไปเก็บไว้และสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผลภายหลัง โดยซีพียูทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้า และนำออกจากหน่วยความจำ
การทำงานของคอมพิวเตอร์ ต้องใช้พื้นที่ของหน่วยความจำในการทำงานประมวลผลและเก็บข้อมูล ขนาดของความจุของหน่วยความจำ คำนวณได้จากค่าจำนวนพื้นที่ที่สามารถใช้ในการเก็บข้อมูล จำนวนพื้นที่คือ จำนวนข้อมูล และขนาดของโปรแกรมที่สามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุด พื้นที่หน่วยความจำมีมากจะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้น
หน่วยประมวลผลกลาง(CPU)
หน่วยประมวลผลกลาง หรือซีพียู มีความหมายทางด้านฮาร์ดแวร์ 2 อย่างคือ1.ชิป (chip) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
2. ตัวกล่องเครื่องที่มีซีพียูบรรจุอยู่
1. หน่วยความจำหลัก
แบ่งได้ 2 ประเภท คือ หน่วยความจำแบบ "แรม"(RAM) และหน่วยความจำแบบ "รอม" (ROM)
1.1 หน่วยความจำแบบแรม (RAM=Ramdom Access Memery)
เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครือง หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับเครื่อง เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้(Vol)
1.2หน่วยความจำแบบ ROM=Read Only Memory
เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับกระแสไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียวไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่ายส่วนใหญ่ใช้เก็บโปรแกรมควบคุมเราเรียกหน่วยความจำนี่ว่า หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile Memory)
2.หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory Unit)
หน่วยความจำสำรองหรือหน่วยเก็บข้อมูลรองเป็นหน่วยเก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดหลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว
หน่วยความจำรองมีหน้าที่หลักคือ
1. ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2. ใช้ในการเก็บข้อมูล โปรแกรมไว้อย่างถาวร
3. ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
หน่วยความจำสำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับ เพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้าประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้าอาจทำให้ข้อมูลสูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำรองเพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป หน่วยความจำประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ชิปดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี เทปแม่เหล็ก หน่วยความจำแบบแฟลช หน่วยความจำรองนี้ถึงจะไม่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงานได้ปกติส่วนแสดงผลข้อมูล
ส่วนแสดงผลข้อมูล คือ ส่วนที่แสดงข้อมูลจากสํญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลางให้เป็นรูปแบบที่คนเราสามารถเข้าใจได้ อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่ จอภาพ (Monitor,Screen) เครื่องพิมพ์(Printer) เครื่องพิมพ์ภาพ(Ploter) และลำโพง(Speaker) เป็นต้นบุคคลากรทางคอมพิวเตอร์ (Peopleware)
บุคคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือความคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่าราบรื่นอาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียวหรือหลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของหน่วยงานคอมพิวเตอร์ประเภทของบุคคลากรคอมพิวเตอร์ (Peopleware)
1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ
บุคคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์
1. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (EDP Manager)2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์แวงแผนระบบงาน (System Analyst หรือ SA)
3. โปรแกรมเมอร์ (Progeammer)
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator)
5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (Data Entey Operator)
-นักวิเคราะห์ระบบงาน
ทำการศึกษาระบบงานเดิม ออกแบบระบบงานใหม่
- โปรแกรมเมอร์
นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรม
- วิศวการะบบ
ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่อมบำรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ
-พนักงานปฏิบัติการ
ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่หรือภาระกิจประจำวันที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
อาจแบ่งบุคคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์ได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. ผู้จัดการระบบ(System Manager) คือผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2. นักวิเคราะห์ระบบ(System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงานเพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3. โปรแกรมเมอร์(Progeammer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช่โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ได้เขียนไว้
4. ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่องและวิธีการใช้งานโปรแกรมเพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น